วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำหนังตะลุง

ขั้นตอนการแกะรูปหนังตะลุง

     1. การเตรียมหนัง หนังที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด ได้แก่หนังสด ๆ โดยเฉพาะวัวที่เพิ่งถูกชำแหละใหม่ ๆ ช่างทำรูป หนัง จะนำผืนหนังดิบมาขึงในกรอบไม้สี่เหลี่ยมแล้วตัดเลาะพังผืดออกจนหมด ตากจนแห้งราว 3 4 วัน จากนั้นแกะ แผ่นหนัง ออกจากกรอบไม้นำไปหมัก สมัยก่อนการหมักในขั้นตอนนี้นิยม ใช้ผลมะเฟืองหรือใบส้มป่อยหรือข่าหรือใบสับปะรด ใช้เวลา ประมาณ 3 4 วัน หนังที่แห้งจะคืนสภาพกลับมานิ่ม ช่างขูดขนออก เหลือแต่แผ่นหนัง สีขาว แต่ปัจจุบันกรรมวิธีดังกล่าว ค่อนข้างช้าจึงใช้น้ำส้มสายชูหมักแทน โดยใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ หลังจากนั้นจึงขูดขนออกโดยต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้หนังขาดเมื่อเห็นว่าเศษเยื่อและขนหลุดออกไปหมดแล้ว จึงนำไปล้างน้ำจนสะอาดก่อนจะนำผืนหนังไปขึงบนกรอบไม้
ตากลมทิ้งไว้ในร่มหรือแดดอ่อน ๆ ประมาณ 2
3 วัน จนเห็นว่าแห้งสนิทดี ก่อนจะนำไปแกะสร้างเป็นรูปหนังต่อไป



     
2. การร่างภาพลงบนผืนหนัง สมัยก่อนการร่างภาพจะใช้เขม่าไฟผสมกับน้ำข้าว แล้วเขียนเป็นโครงร่างภาพ เมื่อ เสร็จแล้ว ใช้ลูกสะบ้าขัดลงไปให้เป็นเงาต่อมามีการนำดินสอพองมาเขียนร่างแทนแต่มีปัญหาที่เส้นร่างใหญ่เกินไปทำให ้รูป หนังที่ ออกมาไม่สมดุลเท่าที่ควรและ หากเกิดความผิดพลาดจะไม่สามารถลบได้เพราะยิ่งลบยิ่งเปรอะเปื้อนมากขึ้น ระยะหลัง จึงใช้เหล็กจารหรือเหล็กแหลมมา ร่างภาพแทน การใช้เหล็กจารหรือเหล็กแหลมมีข้อดีตรงที่เมื่อเขียน เขียนผิดพลาด สามารถ ใช้น้ำหรือน้ำลายลบออกได้โดยไม่มีรอยให้เห็น สำหรับภาพที่ร่างส่วนใหญ่ เป็นภาพที่มีรูปแบบตามตัวละครในหนัง ตะลุง ค่อนข้างตายตัว เช่น ตัวละครในรามเกียรติ์ และ เรื่องอื่น ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวรรณคดีถือเป็นตัวหลัก ที่ช่างทำถนัดและอาจ มีบางตัวที่คิดทำเสริมขึ้นมาใหม่ซึ่งขึ้นอยู่กับจินต นาการของช่าง


     
3. การแกะฉลุลาย แยกออกได้เป็น 2 แบบ คือ
  3.1 การตอกด้วยตุ๊ดตู่หรือมุก ซึ่งจะใช้ร่วมกันกับเขียงไม้เนื้อแข็ง โดยตอก ลงไปเฉพาะส่วนที่เป็นลาย วงกลม หรือลาย เหลี่ยมและลายโค้ง
  3.2 การแกะด้วยมีด โดยใช้ร่วมกับเขียงไม้เนื้ออ่อน จะทำเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายที่แปลกไปจากลายวงกลมลายเหลี่ยม
และลายโค้งเมื่อแกะฉลุลวดลายครบทั้งตัวแล้วจึงตัดเลาะรอบนอกออกจากผืนหนัง จะได้เป็นรูปหนังตาม ต้องการ แล้วนำไป ลงสีเป็นขั้นตอนต่อไป




     4. การลงสี ในการลงสี หากเป็นตัวละครที่โดดเด่น เช่น พระอิศวร ฤาษี ปรายหน้าบท พระ นาง และตัวตลกที่สำคัญ จะเน้นสีที่ ฉูดฉาด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสีสันชัดเจนในระหว่างการเชิด โดยสีที่ใช้จะเป็นสีย้อมผ้าผสมกับเหล้าขาว หรือน้ำร้อน และน้ำมะนาวก็ได้ ซึ่งมีคุณสมบัติติดแน่นทนทาน ไม่ลอกง่าย ส่วนรูปหนังที่เป็นตัวประกอบ หรือตัวละครที่ไม่มีบทบาทสำคัญ
มากนัก ไม่จำเป็นต้องใช้สีเด่น อาจสีทึมหรือสีทึบแสงเช่น สีน้ำมัน เป็นต้น




    5. ทาเคลือบเงา เมื่อได้รูปหนังที่มีสีสันตามต้องการแล้วนำไปทาด้วยน้ำมันชักเงา โดยวางรูปหนังลงบนพื้น แล้วใช้พู่กัน ทาไป ตลอดทั้งรูปหนังราว 3
4 ครั้ง แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง




    6. ใส่ไม้ยึดติด รูปหนังที่ผ่านทุกขั้นตอนมาแล้ว จะถูกนำไปใส่ในซี่ไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ โดยให้ไม้ไผ่คาบ อยู่ระหว่าง กึ่งกลางของ ตัวหนัง จากนั้นจึงผูกด้วยด้ายเป็นระยะให้แน่นสนิท การผูกนี้ในช่างมืออาชีพจะนิยมตัดแผ่นหนัง ให้เป็นเส้นยาว แล้วนำมาผูก จะช่วยให้งานออกมาเรียบร้อยและไม่เห็นสีเส้นด้ายโผล่ออกมาให้สะดุดตา



http://tknanglung.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น