ประวัติหนังตะลุงภาคใต้
หนังตะลุง หมายถึง คณะมหรสพที่นำตัวหนังซึ่งตัดและแกะจากหนังสัตว์
มาเป็นรูปตัวละครต่างๆตามท้องเรื่องที่จะแสดงมาเชิดบนจอด้านใน โดยใช้แสงสว่างให้เกิดเงาบนจอหนัง หนังตะลุงอีกชนิดหนึ่งคือหนังประโมทัย
ในภาคอีสานนั้น ได้รับแบบอย่างมาจากหนังตะลุงภาคใต้ โดยนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติมาอย่างช้านานและเป็นที่
นิยมอย่างแพร่หลายและสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หนังตะลุงคนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังตะลุงซึ่งเป็นบ่อเกิดหนัง
ตะลุงคนเกิดจากหนังตะลุง ดังนั้นนักวิชาการหลายคนได้พยายามศึกษาประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า
เริ่มขึ้นที่ใดและเมื่อใดแต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้
พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตราชสถาน (2542 : 1244) ได้กล่าวในพจนานุกรม ไว้ว่า น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องบรรเลงเพลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พาก.
ธนิต อยู่โพธิ์ (2522 : 1-2) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของหนังตะลุงว่า ?มหรสพพื้นบ้านที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวไทยสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือหนัง ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าหนังใหญ่ เพราะมีหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็กเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงได้เติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป?ซึ่งถ้าตีความนี้ก็แสดงว่าหนังตะลุง น่าจะเกิดขึ้นหลังหนังใหญ่ของภาคกลาง แต่เมื่อพิจารณาผลการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการคนอื่น ๆ เข้าประกอบแล้วจะเห็นว่ายังไม่อาจถือเป็นข้อยุติได้นักว่าหนังตะลุงเกิดขึ้น หลังหนังใหญ่ ทั้งนี้เพราะคำว่า ?หนังตะลุง? เป็นคำที่เรียกกันในเวลาต่อมา ในสมัยก่อนชาวภาคใต้เรียกการละเล่นแบบนี้ในภาคใต้ว่า ?หนัง? หรือบางทีเรียก ?หนังควน?
จากหลักฐานเก่าแก่เกี่ยวกับหนังตะลุงที่บ่งชี้ว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงน่าจะมีต้นกำเนิดที่ภูมิภาคนี้คือที่จังหวัด พัทลุง จากนั้นจึงแพราหลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2508 : 99) ได้ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
พวก ชาวบ้านควน (มะ) พร้าว แขวงจังหวัดพัทลุงคิดเอาอย่างหนังแจก (ชวา) มาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่น ในมณฑลนั้นเรียกว่า ?หนังควน? เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) พาเข้ากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นที่แรกเมื่อปีชวด พ.ศ.2419
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2525 : 180) ได้แสดงทรรศนะไว้ว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นที่ไทยได้รับมาจากชวา โดยกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นการละเล่นของชวาที่มีมาก่อน ศตวรรษที่ 11แล้วแพร่หลายเข้สมายังมาลายูและภาคใต้ของไทย โดยที่ชาวมลายูหรือมาเลเซียในปัจจุบันเรียกว่า วายังกุเล็ต (ไทยใช้วายังกุลิต) ?วายัง? แปลว่ารูปหรือหุ่น ?กุเล็ต? แปลว่าเปลือก หรือหนังสัตว์รูปที่ทำด้วยหนังสัตว์ และตัวหนึ่งที่เข้ามาสู่ประเทศไทยหรือชวาก็ตามจะเห็นว่ามีรูปร่างลักษณะที่ ผิดแปลกแตกต่างไปจากมนุษย์ธรรมดา เป็นเพราะความเชื่อของชาวชวานั้นไม่นิยมสร้างรูปคนที่เป็นที่เคารพนับถือ การทำตัวหนังจึงได้สร้างให้มีลักษณะที่ต่างไปจากคนธรรมดา ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในตัวหนังไทยโดยเฉพาะตัวตลก
นอกจากนี้ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2525 : 180) ยังได้สันนิษฐาน เกี่ยวกับความเป็นมาของของคำว่า ?หนังตะลุง? ไว้ว่า เหตุที่มีผู้เรียกการเล่นโดยใช้เงานี้ว่า ?หนังตะลุง? เกิดจากการเริ่มเล่นมาจากเสาตะลุง ซึ่งเป็นเสาสำหรับผูกช้าง โดยที่ชาวชวาเข้ามาทำมาหากินอยู่ในภาคใต้ของไทยและยึดอาชีพเลี้ยงช้าง รับจ้างทำงาน เมื่อถึงกลางคืนก็ก่อไฟขึ้นกันยุงกันหนาวและได้มีผู้หนึ่งเอาเล็บจิกเจาะ ใบไม้ขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ และจับใบไม้นั้นเชิดเล่นอยู่หน้ากองไฟให้เงาของใบไม้ที่เป็นรูปต่างๆ ไปปรากฏใกล้ๆ ปากก็ร้องเป็นทำนองประกอบไปตามการเชิดใบไม้ และจากแนวความคิดนี้ได้วิวัฒนาการจากการแกะใบไม้ซึ่งไม่ถาวรมาเป็นการแกะ ด้วยหนังสัตว์ ส่วนการเชิดแทนที่จะเชิดให้เงาไปปรากฏที่อื่นๆซึ่งอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผ้าขึงเข้ากับเสาตะลุง และอาจจะโดยเหตุนี้เองจึงเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า ?หนังเสาตะลุง? และเมื่อเวลาผ่านไปจึงเหลือเรียกเพียง ?หนังตะลุง?ตามสำเนียงสั้นๆ ของภาพื้นเมือง หนังตะลุงที่เล่นกันตั้งแต่เดิมไม่ได้เรียกว่าหนังตะลุงอย่างเช่นทุกวันนี้ หากแต่เรียกกันว่า ?หนัง? หรือบางทีเรียกว่า ?หนังควน? เพิ่งมาเปลี่ยนเรียกหนังตะลุงกันในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนที่หนังเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ และหนังสมัยนั้นเป็นหนังของคนพัทลุง เมื่อเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ก็อาจจะเรียกเพี้ยนไปจาก ?พัทลุง? มาเป็น ?ตะลุง? ก็เป็นได้
หนังตะลุงหรือการแสดงหนังเงาเป็น มีปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีนและอินเดีย สำหรับอินเดีย เริ่มมีการแสดงหนังหลังพุทธกาลเล็กน้อย ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลการแสดงหนังตะลุงมาจากอินเดียก็ได้เนื่องจากการเข้ามา ซึ่งการขยายอำนาจทางวัฒนธรรม ศาสนา การค้าขาย เป็นต้น
อุดม หนูทอง (2533 : 1) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในภาคใต้ว่ามีความ สัมพันธ์กับทางอินเดีย โดยกล่าวไว้ว่า เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับหนังตะลุงก็จะพบว่า หนังตะลุงแบบอินเดีย ชวา บาหลี มาเลเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันในหลายประการ เช่น ด้านธรรมเนียมการแสดง รูปหนัง ดนตรี ตลอดจนความเชื่อบางประการแต่ก็มีรายละเอียดต่างๆ แตกต่างไปตามวัฒนธรรมและประเพณีและศาสนา รวมทั้งการพัฒนาการแสดงของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังตะลุงในภาคใต้ของประเทศไทยกับหนังตะลุงของชวามีร่อง รอยความสัมพันธ์กันหลายประการ และต่างก็มีวัฒนธรรมของอินเดียผสมอยู่อยู่อย่างเด่นชัด
หนังสือมหกรรมหนังตะลุงเทิดพระเกียรติ เฉลิม ศิริราชสมบัติครบ 50ปี (2539 : 1-2) ได้กล่าวในเรื่องประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในส่วนของการศึกษา บทพากย์ฤๅษีและบทพากย์พระอิศวร ได้ความว่า ทราบว่าเดิมทีหนังตะลุงเป็นเรื่องของพราหมณ์กลุ่มที่นำหนังตะลุงเข้ามาใน ประเทศไทยน่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวะนิกาย คือ บูชาพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งลัทธินี้ถ้าดูจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี น่าจะตกอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 แต่มิได้หมายความว่าหนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมกับลัทธินี้อาจ จะเป็นช่วงหลังก็ได้ แต่คงไม่เลยพุทธศตวรรษที่ 18
ในส่วนของการศึกษาหาความรู้เรื่องหนังตะลุงในแขนงต่างๆในมิติลงลึกนั้นใน ปัจจุบันฐานข้อมูลหนังตะลุง ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบัน มีงานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ซึ่งสามารถสืบค้นได้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันทักษิณคดี สงขลา ได้แก่เรื่อง ตลกหนังตะลุง : วิเคราะห์จากเรื่องหนังตะลุงที่ผ่านรอบคัดเลือกในการประกวดทางสถานีวิทยุโทร ทัศแห่งประเทศ ไทยช่อง 10 หาดใหญ่ พ.ศ.2530, เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องลักษณะและคุณค่าของเครื่องประกอบการแสดงหนังตะลุงในภาคใต้, เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาหนังตะลุง, และยังมีตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุงอีกมากมาย ซึ่งนับว่ามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นฐานใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ หนังตะลุง
ตามทรรศนะของนักวิชาการพอจะสรุปได้ว่า หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน แม้นักวิชาการยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นมาที่ไหน และเมื่อใดนั้น แต่นักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ อย่างหนึ่งและเป็นการละเล่นที่นิยมกันมากในภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน
https://sites.google.com/site/1silpawathnthrrmpracathxngthin/silpa-wathnthrrm-thi-naeana
พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตราชสถาน (2542 : 1244) ได้กล่าวในพจนานุกรม ไว้ว่า น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องบรรเลงเพลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พาก.
ธนิต อยู่โพธิ์ (2522 : 1-2) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของหนังตะลุงว่า ?มหรสพพื้นบ้านที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวไทยสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือหนัง ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าหนังใหญ่ เพราะมีหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็กเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงได้เติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป?ซึ่งถ้าตีความนี้ก็แสดงว่าหนังตะลุง น่าจะเกิดขึ้นหลังหนังใหญ่ของภาคกลาง แต่เมื่อพิจารณาผลการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการคนอื่น ๆ เข้าประกอบแล้วจะเห็นว่ายังไม่อาจถือเป็นข้อยุติได้นักว่าหนังตะลุงเกิดขึ้น หลังหนังใหญ่ ทั้งนี้เพราะคำว่า ?หนังตะลุง? เป็นคำที่เรียกกันในเวลาต่อมา ในสมัยก่อนชาวภาคใต้เรียกการละเล่นแบบนี้ในภาคใต้ว่า ?หนัง? หรือบางทีเรียก ?หนังควน?
จากหลักฐานเก่าแก่เกี่ยวกับหนังตะลุงที่บ่งชี้ว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงน่าจะมีต้นกำเนิดที่ภูมิภาคนี้คือที่จังหวัด พัทลุง จากนั้นจึงแพราหลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2508 : 99) ได้ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
พวก ชาวบ้านควน (มะ) พร้าว แขวงจังหวัดพัทลุงคิดเอาอย่างหนังแจก (ชวา) มาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่น ในมณฑลนั้นเรียกว่า ?หนังควน? เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) พาเข้ากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นที่แรกเมื่อปีชวด พ.ศ.2419
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2525 : 180) ได้แสดงทรรศนะไว้ว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นที่ไทยได้รับมาจากชวา โดยกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นการละเล่นของชวาที่มีมาก่อน ศตวรรษที่ 11แล้วแพร่หลายเข้สมายังมาลายูและภาคใต้ของไทย โดยที่ชาวมลายูหรือมาเลเซียในปัจจุบันเรียกว่า วายังกุเล็ต (ไทยใช้วายังกุลิต) ?วายัง? แปลว่ารูปหรือหุ่น ?กุเล็ต? แปลว่าเปลือก หรือหนังสัตว์รูปที่ทำด้วยหนังสัตว์ และตัวหนึ่งที่เข้ามาสู่ประเทศไทยหรือชวาก็ตามจะเห็นว่ามีรูปร่างลักษณะที่ ผิดแปลกแตกต่างไปจากมนุษย์ธรรมดา เป็นเพราะความเชื่อของชาวชวานั้นไม่นิยมสร้างรูปคนที่เป็นที่เคารพนับถือ การทำตัวหนังจึงได้สร้างให้มีลักษณะที่ต่างไปจากคนธรรมดา ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในตัวหนังไทยโดยเฉพาะตัวตลก
นอกจากนี้ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2525 : 180) ยังได้สันนิษฐาน เกี่ยวกับความเป็นมาของของคำว่า ?หนังตะลุง? ไว้ว่า เหตุที่มีผู้เรียกการเล่นโดยใช้เงานี้ว่า ?หนังตะลุง? เกิดจากการเริ่มเล่นมาจากเสาตะลุง ซึ่งเป็นเสาสำหรับผูกช้าง โดยที่ชาวชวาเข้ามาทำมาหากินอยู่ในภาคใต้ของไทยและยึดอาชีพเลี้ยงช้าง รับจ้างทำงาน เมื่อถึงกลางคืนก็ก่อไฟขึ้นกันยุงกันหนาวและได้มีผู้หนึ่งเอาเล็บจิกเจาะ ใบไม้ขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ และจับใบไม้นั้นเชิดเล่นอยู่หน้ากองไฟให้เงาของใบไม้ที่เป็นรูปต่างๆ ไปปรากฏใกล้ๆ ปากก็ร้องเป็นทำนองประกอบไปตามการเชิดใบไม้ และจากแนวความคิดนี้ได้วิวัฒนาการจากการแกะใบไม้ซึ่งไม่ถาวรมาเป็นการแกะ ด้วยหนังสัตว์ ส่วนการเชิดแทนที่จะเชิดให้เงาไปปรากฏที่อื่นๆซึ่งอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผ้าขึงเข้ากับเสาตะลุง และอาจจะโดยเหตุนี้เองจึงเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า ?หนังเสาตะลุง? และเมื่อเวลาผ่านไปจึงเหลือเรียกเพียง ?หนังตะลุง?ตามสำเนียงสั้นๆ ของภาพื้นเมือง หนังตะลุงที่เล่นกันตั้งแต่เดิมไม่ได้เรียกว่าหนังตะลุงอย่างเช่นทุกวันนี้ หากแต่เรียกกันว่า ?หนัง? หรือบางทีเรียกว่า ?หนังควน? เพิ่งมาเปลี่ยนเรียกหนังตะลุงกันในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนที่หนังเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ และหนังสมัยนั้นเป็นหนังของคนพัทลุง เมื่อเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ก็อาจจะเรียกเพี้ยนไปจาก ?พัทลุง? มาเป็น ?ตะลุง? ก็เป็นได้
หนังตะลุงหรือการแสดงหนังเงาเป็น มีปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีนและอินเดีย สำหรับอินเดีย เริ่มมีการแสดงหนังหลังพุทธกาลเล็กน้อย ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลการแสดงหนังตะลุงมาจากอินเดียก็ได้เนื่องจากการเข้ามา ซึ่งการขยายอำนาจทางวัฒนธรรม ศาสนา การค้าขาย เป็นต้น
อุดม หนูทอง (2533 : 1) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในภาคใต้ว่ามีความ สัมพันธ์กับทางอินเดีย โดยกล่าวไว้ว่า เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับหนังตะลุงก็จะพบว่า หนังตะลุงแบบอินเดีย ชวา บาหลี มาเลเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันในหลายประการ เช่น ด้านธรรมเนียมการแสดง รูปหนัง ดนตรี ตลอดจนความเชื่อบางประการแต่ก็มีรายละเอียดต่างๆ แตกต่างไปตามวัฒนธรรมและประเพณีและศาสนา รวมทั้งการพัฒนาการแสดงของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังตะลุงในภาคใต้ของประเทศไทยกับหนังตะลุงของชวามีร่อง รอยความสัมพันธ์กันหลายประการ และต่างก็มีวัฒนธรรมของอินเดียผสมอยู่อยู่อย่างเด่นชัด
หนังสือมหกรรมหนังตะลุงเทิดพระเกียรติ เฉลิม ศิริราชสมบัติครบ 50ปี (2539 : 1-2) ได้กล่าวในเรื่องประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในส่วนของการศึกษา บทพากย์ฤๅษีและบทพากย์พระอิศวร ได้ความว่า ทราบว่าเดิมทีหนังตะลุงเป็นเรื่องของพราหมณ์กลุ่มที่นำหนังตะลุงเข้ามาใน ประเทศไทยน่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวะนิกาย คือ บูชาพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งลัทธินี้ถ้าดูจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี น่าจะตกอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 แต่มิได้หมายความว่าหนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมกับลัทธินี้อาจ จะเป็นช่วงหลังก็ได้ แต่คงไม่เลยพุทธศตวรรษที่ 18
ในส่วนของการศึกษาหาความรู้เรื่องหนังตะลุงในแขนงต่างๆในมิติลงลึกนั้นใน ปัจจุบันฐานข้อมูลหนังตะลุง ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบัน มีงานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ซึ่งสามารถสืบค้นได้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันทักษิณคดี สงขลา ได้แก่เรื่อง ตลกหนังตะลุง : วิเคราะห์จากเรื่องหนังตะลุงที่ผ่านรอบคัดเลือกในการประกวดทางสถานีวิทยุโทร ทัศแห่งประเทศ ไทยช่อง 10 หาดใหญ่ พ.ศ.2530, เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องลักษณะและคุณค่าของเครื่องประกอบการแสดงหนังตะลุงในภาคใต้, เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาหนังตะลุง, และยังมีตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุงอีกมากมาย ซึ่งนับว่ามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นฐานใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ หนังตะลุง
ตามทรรศนะของนักวิชาการพอจะสรุปได้ว่า หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน แม้นักวิชาการยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นมาที่ไหน และเมื่อใดนั้น แต่นักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ อย่างหนึ่งและเป็นการละเล่นที่นิยมกันมากในภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน
https://sites.google.com/site/1silpawathnthrrmpracathxngthin/silpa-wathnthrrm-thi-naeana
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น