หนังตะลุง
หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้มาแต่โบราณ
และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้
หนังตะลุงเป็นมหรสพทีได้รับการนิยมจากผู้ดูอย่างกว้างขวาง การแสดงหนังตะลุงเป็นการแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังตะลุงผนวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ
จึงจะสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้ หนังตะลุงมิได้ให้แต่ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น
ยังได้สอดแทรกคติธรรม จริยธรรม การศึกษา ฯ ลฯ แก่ผู้ชมอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงนั้น
มีความเชื่อกันว่า เผยแพร่มาจากชวา(อินโดนีเซีย) มายังมาเลเซีย แล้วคนไทยทางภาคใต้ไปได้แบบอย่างมาอีกทีหนึ่งจากเมืองยะโฮร์
มาฝึกหัดเล่นในเมืองไทย โดยเฉพาะครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง
ที่เรียกว่าหนังตะลุงนั้น คำว่าหนัง ก็คือ เอาหนังวัว หนังควาย มาตัดฉลุเป็นรูป
ส่วนคำว่าตะลุงก็คงมาจากคำว่าพัทลุงนั่นเอง เคยมีคำนิยมเรียกหนังตะลุงว่า
"หนังควน " เพราะเกิดขึ้นที่บ้านควนมะพร้าว เป็นแห่งแรกนอกจากนี้ยังมีข้ออ้างอิงอื่น
ๆ ซึ่งยืนยันว่าได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่พัทลุง
หนังตะลุง
มี อยู่ 13 ตัว ได้แก่
นายสีแก้ว นายยอดทอง นายเท่ง นายขวัญเมือง นายสะหม้อ อ้ายอินแก้ว อ้ายโถ อ้ายพูน อ้ายกรั้ง อ้ายปราบ อ้ายดิก อ้ายคงรอด อ้ายจีนจ๋องhttps://sites.google.com/site/hnangtalungphunbanrea/prawati-khwam-pen-ma
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น