วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รูปหนังตะลุง



รูปหนังตะลุง


                            



                                           

https://www.google.co.th/search?t


ประวัติความเป็นมา

หนังตะลุง
          หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้มาแต่โบราณ และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ หนังตะลุงเป็นมหรสพทีได้รับการนิยมจากผู้ดูอย่างกว้างขวาง การแสดงหนังตะลุงเป็นการแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังตะลุงผนวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงจะสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้ หนังตะลุงมิได้ให้แต่ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น ยังได้สอดแทรกคติธรรม จริยธรรม การศึกษา ฯ ลฯ แก่ผู้ชมอีกด้วย
  ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงนั้น มีความเชื่อกันว่า เผยแพร่มาจากชวา(อินโดนีเซีย) มายังมาเลเซีย แล้วคนไทยทางภาคใต้ไปได้แบบอย่างมาอีกทีหนึ่งจากเมืองยะโฮร์ มาฝึกหัดเล่นในเมืองไทย โดยเฉพาะครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง ที่เรียกว่าหนังตะลุงนั้น คำว่าหนัง ก็คือ เอาหนังวัว หนังควาย มาตัดฉลุเป็นรูป ส่วนคำว่าตะลุงก็คงมาจากคำว่าพัทลุงนั่นเอง เคยมีคำนิยมเรียกหนังตะลุงว่า "หนังควน " เพราะเกิดขึ้นที่บ้านควนมะพร้าว เป็นแห่งแรกนอกจากนี้ยังมีข้ออ้างอิงอื่น ๆ ซึ่งยืนยันว่าได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่พัทลุง
           หนังตะลุง มี อยู่ 13 ตัว  ได้แก่
นายสีแก้ว  นายยอดทอง  นายเท่ง นายขวัญเมือง นายสะหม้อ  อ้ายอินแก้ว  อ้ายโถ  อ้ายพูน อ้ายกรั้ง  อ้ายปราบ  อ้ายดิก อ้ายคงรอด  อ้ายจีนจ๋อง
https://sites.google.com/site/hnangtalungphunbanrea/prawati-khwam-pen-ma

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงภาคใต้

ประวัติหนังตะลุงภาคใต้


                 หนังตะลุง  หมายถึง  คณะมหรสพที่นำตัวหนังซึ่งตัดและแกะจากหนังสัตว์ มาเป็นรูปตัวละครต่างๆตามท้องเรื่องที่จะแสดงมาเชิดบนจอด้านใน  โดยใช้แสงสว่างให้เกิดเงาบนจอหนัง  หนังตะลุงอีกชนิดหนึ่งคือหนังประโมทัย ในภาคอีสานนั้น  ได้รับแบบอย่างมาจากหนังตะลุงภาคใต้  โดยนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
              หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติมาอย่างช้านานและเป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลายและสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หนังตะลุงคนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังตะลุงซึ่งเป็นบ่อเกิดหนัง ตะลุงคนเกิดจากหนังตะลุง ดังนั้นนักวิชาการหลายคนได้พยายามศึกษาประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า เริ่มขึ้นที่ใดและเมื่อใดแต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้
              พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตราชสถาน (2542 : 1244) ได้กล่าวในพจนานุกรม ไว้ว่า น. การมหรสพอย่างหนึ่ง  ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก  คีบด้วยไม้ตับอันเดียว  เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง  ใช้ปี่  กลอง  และฆ้องบรรเลงเพลงประกอบ  ผู้เชิดเป็นผู้พาก.
              ธนิต  อยู่โพธิ์ (2522 : 1-2)  ได้กล่าวถึงความเป็นมาของหนังตะลุงว่า ?มหรสพพื้นบ้านที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวไทยสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือหนัง  ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าหนังใหญ่  เพราะมีหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็กเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงได้เติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป?ซึ่งถ้าตีความนี้ก็แสดงว่าหนังตะลุง น่าจะเกิดขึ้นหลังหนังใหญ่ของภาคกลาง  แต่เมื่อพิจารณาผลการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการคนอื่น ๆ เข้าประกอบแล้วจะเห็นว่ายังไม่อาจถือเป็นข้อยุติได้นักว่าหนังตะลุงเกิดขึ้น หลังหนังใหญ่  ทั้งนี้เพราะคำว่า  ?หนังตะลุง?  เป็นคำที่เรียกกันในเวลาต่อมา  ในสมัยก่อนชาวภาคใต้เรียกการละเล่นแบบนี้ในภาคใต้ว่า ?หนัง?  หรือบางทีเรียก ?หนังควน?
              จากหลักฐานเก่าแก่เกี่ยวกับหนังตะลุงที่บ่งชี้ว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงน่าจะมีต้นกำเนิดที่ภูมิภาคนี้คือที่จังหวัด พัทลุง จากนั้นจึงแพราหลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
              สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2508 : 99)  ได้ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
พวก ชาวบ้านควน (มะ) พร้าว แขวงจังหวัดพัทลุงคิดเอาอย่างหนังแจก (ชวา) มาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่น ในมณฑลนั้นเรียกว่า
  ?หนังควน? เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค) พาเข้ากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นที่แรกเมื่อปีชวด พ.ศ.2419
             วิบูลย์  ลี้สุวรรณ (2525 : 180)  ได้แสดงทรรศนะไว้ว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นที่ไทยได้รับมาจากชวา โดยกล่าวว่า  หนังตะลุงเป็นการละเล่นของชวาที่มีมาก่อน ศตวรรษที่ 11แล้วแพร่หลายเข้สมายังมาลายูและภาคใต้ของไทย  โดยที่ชาวมลายูหรือมาเลเซียในปัจจุบันเรียกว่า วายังกุเล็ต (ไทยใช้วายังกุลิต)  ?วายัง? แปลว่ารูปหรือหุ่น ?กุเล็ต? แปลว่าเปลือก  หรือหนังสัตว์รูปที่ทำด้วยหนังสัตว์  และตัวหนึ่งที่เข้ามาสู่ประเทศไทยหรือชวาก็ตามจะเห็นว่ามีรูปร่างลักษณะที่ ผิดแปลกแตกต่างไปจากมนุษย์ธรรมดา  เป็นเพราะความเชื่อของชาวชวานั้นไม่นิยมสร้างรูปคนที่เป็นที่เคารพนับถือ  การทำตัวหนังจึงได้สร้างให้มีลักษณะที่ต่างไปจากคนธรรมดา  ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในตัวหนังไทยโดยเฉพาะตัวตลก 
             นอกจากนี้ วิบูลย์  ลี้สุวรรณ (2525 : 180)  ยังได้สันนิษฐาน เกี่ยวกับความเป็นมาของของคำว่า  ?หนังตะลุง?  ไว้ว่า เหตุที่มีผู้เรียกการเล่นโดยใช้เงานี้ว่า ?หนังตะลุง? เกิดจากการเริ่มเล่นมาจากเสาตะลุง  ซึ่งเป็นเสาสำหรับผูกช้าง  โดยที่ชาวชวาเข้ามาทำมาหากินอยู่ในภาคใต้ของไทยและยึดอาชีพเลี้ยงช้าง  รับจ้างทำงาน  เมื่อถึงกลางคืนก็ก่อไฟขึ้นกันยุงกันหนาวและได้มีผู้หนึ่งเอาเล็บจิกเจาะ ใบไม้ขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ และจับใบไม้นั้นเชิดเล่นอยู่หน้ากองไฟให้เงาของใบไม้ที่เป็นรูปต่างๆ ไปปรากฏใกล้ๆ ปากก็ร้องเป็นทำนองประกอบไปตามการเชิดใบไม้ และจากแนวความคิดนี้ได้วิวัฒนาการจากการแกะใบไม้ซึ่งไม่ถาวรมาเป็นการแกะ ด้วยหนังสัตว์  ส่วนการเชิดแทนที่จะเชิดให้เงาไปปรากฏที่อื่นๆซึ่งอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน  ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผ้าขึงเข้ากับเสาตะลุง  และอาจจะโดยเหตุนี้เองจึงเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า ?หนังเสาตะลุง? และเมื่อเวลาผ่านไปจึงเหลือเรียกเพียง ?หนังตะลุง?ตามสำเนียงสั้นๆ ของภาพื้นเมือง  หนังตะลุงที่เล่นกันตั้งแต่เดิมไม่ได้เรียกว่าหนังตะลุงอย่างเช่นทุกวันนี้  หากแต่เรียกกันว่า ?หนัง? หรือบางทีเรียกว่า ?หนังควน? เพิ่งมาเปลี่ยนเรียกหนังตะลุงกันในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนที่หนังเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ   และหนังสมัยนั้นเป็นหนังของคนพัทลุง  เมื่อเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ก็อาจจะเรียกเพี้ยนไปจาก  ?พัทลุง?  มาเป็น  ?ตะลุง? ก็เป็นได้
             หนังตะลุงหรือการแสดงหนังเงาเป็น มีปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีนและอินเดีย  สำหรับอินเดีย  เริ่มมีการแสดงหนังหลังพุทธกาลเล็กน้อย ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ก็อาจจะได้รับอิทธิพลการแสดงหนังตะลุงมาจากอินเดียก็ได้เนื่องจากการเข้ามา ซึ่งการขยายอำนาจทางวัฒนธรรม ศาสนา การค้าขาย เป็นต้น
             อุดม  หนูทอง (2533 : 1) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในภาคใต้ว่ามีความ สัมพันธ์กับทางอินเดีย โดยกล่าวไว้ว่า เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับหนังตะลุงก็จะพบว่า  หนังตะลุงแบบอินเดีย  ชวา  บาหลี  มาเลเซีย  และภาคใต้ของประเทศไทย  มีความสัมพันธ์กันในหลายประการ  เช่น  ด้านธรรมเนียมการแสดง  รูปหนัง  ดนตรี  ตลอดจนความเชื่อบางประการแต่ก็มีรายละเอียดต่างๆ แตกต่างไปตามวัฒนธรรมและประเพณีและศาสนา  รวมทั้งการพัฒนาการแสดงของแต่ละประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังตะลุงในภาคใต้ของประเทศไทยกับหนังตะลุงของชวามีร่อง รอยความสัมพันธ์กันหลายประการ  และต่างก็มีวัฒนธรรมของอินเดียผสมอยู่อยู่อย่างเด่นชัด
              หนังสือมหกรรมหนังตะลุงเทิดพระเกียรติ เฉลิม ศิริราชสมบัติครบ 50ปี (2539 : 1-2) ได้กล่าวในเรื่องประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในส่วนของการศึกษา บทพากย์ฤๅษีและบทพากย์พระอิศวร ได้ความว่า ทราบว่าเดิมทีหนังตะลุงเป็นเรื่องของพราหมณ์กลุ่มที่นำหนังตะลุงเข้ามาใน ประเทศไทยน่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวะนิกาย คือ  บูชาพระอิศวรเป็นใหญ่  ซึ่งลัทธินี้ถ้าดูจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง  สุราษฎร์ธานี น่าจะตกอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 แต่มิได้หมายความว่าหนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมกับลัทธินี้อาจ จะเป็นช่วงหลังก็ได้ แต่คงไม่เลยพุทธศตวรรษที่ 18
               ในส่วนของการศึกษาหาความรู้เรื่องหนังตะลุงในแขนงต่างๆในมิติลงลึกนั้นใน ปัจจุบันฐานข้อมูลหนังตะลุง ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบัน มีงานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ซึ่งสามารถสืบค้นได้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันทักษิณคดี สงขลา ได้แก่เรื่อง ตลกหนังตะลุง : วิเคราะห์จากเรื่องหนังตะลุงที่ผ่านรอบคัดเลือกในการประกวดทางสถานีวิทยุโทร ทัศแห่งประเทศ ไทยช่อง 10 หาดใหญ่ พ.ศ.2530, เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา, เรื่องลักษณะและคุณค่าของเครื่องประกอบการแสดงหนังตะลุงในภาคใต้, เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาหนังตะลุง, และยังมีตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุงอีกมากมาย ซึ่งนับว่ามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นฐานใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ หนังตะลุง
                 ตามทรรศนะของนักวิชาการพอจะสรุปได้ว่า  หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน แม้นักวิชาการยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นมาที่ไหน และเมื่อใดนั้น 
แต่นักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ อย่างหนึ่งและเป็นการละเล่นที่นิยมกันมากในภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน
https://sites.google.com/site/1silpawathnthrrmpracathxngthin/silpa-wathnthrrm-thi-naeana

อุปกรณ์การทำหนังตะลุง

วัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

วัสดุในการผลิต
        วัตถุ ดิบที่ใช้ ได้แก่หนังวัว หรือหนังควาย การเลือกหนังวัวหรือหนังควายมาใช้ เนื่องจากหนังทั้งสองชนิดนี้ มีคุณลักษณะพิเศษกว่าหนังสัตว์อื่น ๆ มีความหนาบางพอเหมาะ มีความแข็งและปรับตัวดี เหนียวและมีความคงทนเมื่อฟอกแล้วจะโปร่งแสง เมื่อระบายสีและนำออกเชิดจะให้สีสันสวยงามและหนังทั้งสองชนิดนี้จะไม่บิดงอ หรือพับง่าย ในการเลือกหนังช่างมีวิธีการเลือก ดังนี้

       
        1. ลักษณะของขน ต้องอยู่ในสภาพดี
        2. ลักษณะของสภาพผิวของหนัง ต้องไม่มีรอยช้ำ ขูดขีด มีรอยเขียวคล้ำ
        3. การพิจารณาน้ำหนักและขนาดของหนัง ต้องมีเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ ประมาณ 8 – 13 กิโลกรัม และมีขนาดความกว้างและความยาวเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ถ้าเป็นหนังที่ใช้แกะสำหรับเชิดจะไม่คำนึงถึงขนาดมากนัก ปัจจุบันหนังมี 2 ชนิด คือ
        1. หนังธรรมดา หมายถึง หนังวัว หรือหนังควายที่ฟอกด้วยมือ หนังชนิดนี้นิยมแกะรูปหนังตะลุงที่ใช้เพื่อการแสดง
        2. หนังแก้ว หมายถึง หนังวัว หรือหนังควายที่ฟอกจากโรงงาน หนังชนิดนี้นิยมแกะรูปหนังตะลุงเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ประดับตกแต่งบ้านเรือนและบางครั้งก็เพื่อการแสดงหนังตะลุงด้วย โดยเฉพาะนายหนังที่กำลังฝึกหัดใหม่
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการผลิต ประกอบด้วย
        1. เหล็กแหลมหรือเหล็กขีด ใช้สำหรับร่างแบบเป็นรูปต่าง ๆ บนหนัง

        2. ค้อน ใช้ตอกตุ๊ดตู่ (มุก) เป็นค้อนเหล็ก

        3.ไม้รองตอก (เขียง) ไม้เนื้อแข็ง ใช้ไม้หยี สำหรับใช้รองตอกรูปหนัง ไม้เนื้ออ่อน ใช้ไม้สะทัง สำหรับรองการตัดรูปหนัง


        4. มีดแกะ ต้องมีความคมมาก ใช้สำหรับตัดหนังเป็นรูปต่าง ๆ

       
        5. หินลับมีด ใช้สำหรับลับมีด

        6. สบู่ขิง ใช้สำหรับจิ้มปลายเครื่องมือหรือตุ๊ดตู่ เพื่อให้เกิดความลื่นเวลาตอก


        7. มุก หรือ ตุ๊ดตู่ ใช้ตอกลวดลาย ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น มุกสามเหลี่ยม,มุกเหลี่ยม,มุกกลม,มุกโค้ง,                  มุกตา,มุกปากแบน,มุกตอก,มุกวารี,มุกหัวใจ,มุกดาว ลักษณะเป็นแท่งเหล็กกลม ปลายคม มีรูกลวง ขนาดตามที่ต้องการ

        8. ไม้ไผ่ ใช้สำหรับทาบตัวหนัง หรือเข้าตับรูปหนัง



        9. เชือก,เส้นด้าย ใช้ร้อยเชื่อมระหว่างชิ้นตัวต่าง ๆ ของตัวหนัง



        10. สีต่าง ๆ ใช้ระบายสีตัวหนังตะลุง เช่น สีแดง,สีเขียว,สีน้ำเงิน,สีดำ หรือสีตามความต้องการ สีที่ใช้มักเป็นสีย้อมแพร สีย้อมผ้า สีน้ำหมึก สีทำขนม


        11. หวายเล็กสำหรับระบายสี ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ


        12. แปรงขนอ่อน สำหรับทาน้ำมัน


        13.น้ำมันวานิช


        14. น้ำมันเบนซิน



https://sites.google.com/site/naifreedomza/xupkrn-kar-kaea-hnang-talung


ขั้นตอนการทำหนังตะลุง

ขั้นตอนการแกะรูปหนังตะลุง

     1. การเตรียมหนัง หนังที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด ได้แก่หนังสด ๆ โดยเฉพาะวัวที่เพิ่งถูกชำแหละใหม่ ๆ ช่างทำรูป หนัง จะนำผืนหนังดิบมาขึงในกรอบไม้สี่เหลี่ยมแล้วตัดเลาะพังผืดออกจนหมด ตากจนแห้งราว 3 4 วัน จากนั้นแกะ แผ่นหนัง ออกจากกรอบไม้นำไปหมัก สมัยก่อนการหมักในขั้นตอนนี้นิยม ใช้ผลมะเฟืองหรือใบส้มป่อยหรือข่าหรือใบสับปะรด ใช้เวลา ประมาณ 3 4 วัน หนังที่แห้งจะคืนสภาพกลับมานิ่ม ช่างขูดขนออก เหลือแต่แผ่นหนัง สีขาว แต่ปัจจุบันกรรมวิธีดังกล่าว ค่อนข้างช้าจึงใช้น้ำส้มสายชูหมักแทน โดยใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ หลังจากนั้นจึงขูดขนออกโดยต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้หนังขาดเมื่อเห็นว่าเศษเยื่อและขนหลุดออกไปหมดแล้ว จึงนำไปล้างน้ำจนสะอาดก่อนจะนำผืนหนังไปขึงบนกรอบไม้
ตากลมทิ้งไว้ในร่มหรือแดดอ่อน ๆ ประมาณ 2
3 วัน จนเห็นว่าแห้งสนิทดี ก่อนจะนำไปแกะสร้างเป็นรูปหนังต่อไป



     
2. การร่างภาพลงบนผืนหนัง สมัยก่อนการร่างภาพจะใช้เขม่าไฟผสมกับน้ำข้าว แล้วเขียนเป็นโครงร่างภาพ เมื่อ เสร็จแล้ว ใช้ลูกสะบ้าขัดลงไปให้เป็นเงาต่อมามีการนำดินสอพองมาเขียนร่างแทนแต่มีปัญหาที่เส้นร่างใหญ่เกินไปทำให ้รูป หนังที่ ออกมาไม่สมดุลเท่าที่ควรและ หากเกิดความผิดพลาดจะไม่สามารถลบได้เพราะยิ่งลบยิ่งเปรอะเปื้อนมากขึ้น ระยะหลัง จึงใช้เหล็กจารหรือเหล็กแหลมมา ร่างภาพแทน การใช้เหล็กจารหรือเหล็กแหลมมีข้อดีตรงที่เมื่อเขียน เขียนผิดพลาด สามารถ ใช้น้ำหรือน้ำลายลบออกได้โดยไม่มีรอยให้เห็น สำหรับภาพที่ร่างส่วนใหญ่ เป็นภาพที่มีรูปแบบตามตัวละครในหนัง ตะลุง ค่อนข้างตายตัว เช่น ตัวละครในรามเกียรติ์ และ เรื่องอื่น ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวรรณคดีถือเป็นตัวหลัก ที่ช่างทำถนัดและอาจ มีบางตัวที่คิดทำเสริมขึ้นมาใหม่ซึ่งขึ้นอยู่กับจินต นาการของช่าง


     
3. การแกะฉลุลาย แยกออกได้เป็น 2 แบบ คือ
  3.1 การตอกด้วยตุ๊ดตู่หรือมุก ซึ่งจะใช้ร่วมกันกับเขียงไม้เนื้อแข็ง โดยตอก ลงไปเฉพาะส่วนที่เป็นลาย วงกลม หรือลาย เหลี่ยมและลายโค้ง
  3.2 การแกะด้วยมีด โดยใช้ร่วมกับเขียงไม้เนื้ออ่อน จะทำเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายที่แปลกไปจากลายวงกลมลายเหลี่ยม
และลายโค้งเมื่อแกะฉลุลวดลายครบทั้งตัวแล้วจึงตัดเลาะรอบนอกออกจากผืนหนัง จะได้เป็นรูปหนังตาม ต้องการ แล้วนำไป ลงสีเป็นขั้นตอนต่อไป




     4. การลงสี ในการลงสี หากเป็นตัวละครที่โดดเด่น เช่น พระอิศวร ฤาษี ปรายหน้าบท พระ นาง และตัวตลกที่สำคัญ จะเน้นสีที่ ฉูดฉาด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสีสันชัดเจนในระหว่างการเชิด โดยสีที่ใช้จะเป็นสีย้อมผ้าผสมกับเหล้าขาว หรือน้ำร้อน และน้ำมะนาวก็ได้ ซึ่งมีคุณสมบัติติดแน่นทนทาน ไม่ลอกง่าย ส่วนรูปหนังที่เป็นตัวประกอบ หรือตัวละครที่ไม่มีบทบาทสำคัญ
มากนัก ไม่จำเป็นต้องใช้สีเด่น อาจสีทึมหรือสีทึบแสงเช่น สีน้ำมัน เป็นต้น




    5. ทาเคลือบเงา เมื่อได้รูปหนังที่มีสีสันตามต้องการแล้วนำไปทาด้วยน้ำมันชักเงา โดยวางรูปหนังลงบนพื้น แล้วใช้พู่กัน ทาไป ตลอดทั้งรูปหนังราว 3
4 ครั้ง แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง




    6. ใส่ไม้ยึดติด รูปหนังที่ผ่านทุกขั้นตอนมาแล้ว จะถูกนำไปใส่ในซี่ไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ โดยให้ไม้ไผ่คาบ อยู่ระหว่าง กึ่งกลางของ ตัวหนัง จากนั้นจึงผูกด้วยด้ายเป็นระยะให้แน่นสนิท การผูกนี้ในช่างมืออาชีพจะนิยมตัดแผ่นหนัง ให้เป็นเส้นยาว แล้วนำมาผูก จะช่วยให้งานออกมาเรียบร้อยและไม่เห็นสีเส้นด้ายโผล่ออกมาให้สะดุดตา



http://tknanglung.blogspot.com/

ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุุง

ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง

นอกจากจะถือว่าหนังตะลุงเป็นเรื่องบันเทิงใจอย่างมหรสพทั่วๆ ไปแล้ว ยังมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ปะปนอยู่ด้วยหลายประการ ซึ่งจะประมวลเป็นข้อๆ ต่อไปนี้คือ

         1. ความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอ ครูหมอคือบูรพาจารย์และบรรพบุรุษที่นายหนังแต่ละคนสืบเชื้อสายมา โดยเชื่อว่าครูเหล่านั้นยังห่วงใจผูกพันกับนายหนัง หากนายหนังบูชาเซ่นพลีตามโอกาสอันควร ครูหมอก็จะให้คุณ แต่หากละเลยก็อาจให้โทษได้ หนังตะลุงแทบทุกคนจึงมักตั้ง ตั้งหิ้ง (ชั้นไม้ขนาดเล็ก แขวนไว้ข้างฝาในที่สูง) ให้เป็นที่สถิตของครู ปักธูปเทียนบูชาและจะมีพิธีไหว้ครูเป็นระยะๆ เช่น 3 ปีต่อครั้ง ปีละครั้งเป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่จะตกลงกับครูไว้อย่างไร

         2. ความเชื่อเกี่ยวกับรูปหนัง เชื่อว่ารูปทุกตัวที่ผูกไม้ตับ ผูกมือ เบิกปาก เบิกตา ชุบร่าง แล้วย่อมมีอาถรรพณ์ผู้ใดเล่นด้วยความไม่เคารพย่อมไม่เกิดมงคลแก่ตน อีกประการหนึ่งรูปแต่ละประเภทมีศักดิ์ไม่เท่ากัน การจัดเก็บต้องเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ และต้องเอารูปที่มีศักดิ์สูงไว้บนเสมอ

         นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับ รูปศักดิ์สิทธิ์ การทำรูปชนิดนี้ต้องเลือกหนังสัตว์ที่ตายไม่ปรกติ เช่น ถูกฟ้าผ่าตาย คลอดลูกตาย และหากเลือกชนิดสัตว์ได้เหมาะกับรูปก็ยิ่งจะทำให้ขลัง เช่น รูปตลกทำด้วยหนังหมี รูปฤาษีทำด้วยหนังเสือ เป็นต้น

         3. ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเดินทาง ก่อนออกเดินทางต้องทำพิธี ยกเครื่อง โดยประโคมดนตรีอย่างสั้นๆ นายหนังบอกกล่าวขอความสวัสดีจากครูหมอ ขณะเดินทางถ้าผ่านสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือวัดวาอารามเก่าๆ จะหยุดประโคมดนตรีถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ที่นั้น เมื่อถึงบ้านเจ้าภาพจะว่าคาถา ทักเจ้าบ้าน (ทักทายเจ้าที่รักษาบ้าน) แล้วประโคมดนตรีสั้นๆ เรียกว่า ตั้งเครื่อง (บางคณะอาจตั้งเครื่องก่อนทำพิธีเบิกโรงก็ได้)

         4. ความเชื่ออื่นๆ ซึ่งมักเป็นเรื่องไสยศาสตร์ที่ทำเพื่อป้องกันปัดเป่าเสนียดจัญไร ขอความสวัสดีมีชัย สร้างเมตตามหานิยม เช่น ก่อนขึ้นโรงดินเวียนโรงทำพิธีปัดเสนียด ผูกหนวดราม (เชือกผูกจอ) เส้นสุดท้ายพร้อมว่าคาถาผูกใจคน เป็นต้น

         ความเชื่อของหนังตะลุงมีมาก ในอดีตถือว่าไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่นายหนังต้องเรียนรู้ แสดงหนังได้ดีเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องรอบรู้ไสยศาสตร์อย่างดีด้วยจึงจะเอาตัวรอด แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าใดนัก



แบบสอบถาม

https://docs.google.com/forms/d/1L2YfNWFCtXVBGfhI5zK8ww0dzv05ij8GMF_Rrkq3Z28/viewform?usp=send_form

ศัพท์เฉพาะหนังตะลุง

ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับหนังตะลุง

๑.นายหนัง คือ ผู้แสดง รับผิดชอบอุปกรณ์ การแสดงทุกชิ้น รับผิดชอบเรื่องพาหนะเดินทาง ตลอดการกินของผู้คนทั้งคณะ
๒.ลูกคู่ คือผู้ประโคมดนตรีประกอบการแสดง คณะหนังโรงหนึ่งมี ๖ -๘ คน รับผิดชอบถืออุปกรณ์ต่างๆ ประโคมดนตรีตามความถนัดของตน
๓.ขันหมาก คือเครื่องบอกให้นายหนังทราบว่า มารับหนัง หรือมาว่าจ้างไปทำการแสดง โดยนำหมากพลูใส่ขัน ยื่นให้นายหนัง บอกวันเวลาและสถานที่ ถ้านายหนังรับไว้ เรียกว่ารับขันหมาก หากมีผู้มารับไว้ก่อนแล้ววันเวลาตรงกัน นายหนังบอกว่าติดขันหมาก รับขันหมากไว้แล้ว เกิดเหตุสุดวิสัยไปแสดงไม่ได้ เช่น ล้มป่วยลง ต้องให้คนนำขันหมากที่รับไว้ไปมอบให้แก่ผู้รับเรียกว่าคืนขันหมาก
๔.ราด คือเงินค่าว่าจ้างไปแสดงหนังตะลุง ในสมัยก่อนคืนละ ๙ บาท ๑๒ บาท ๑๕ บาท ในปัจจุบันคืนละ ๖,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ถ้าผู้ว่าจ้างไม่ให้ตามตกลง เรียกว่า บิดราด
๕.ยกเครื่อง คือการเตรียมลูกคู่ เครื่องประโคมดนตรีให้พร้อม ก่อนออกเดินทางมีการประโคมดนตรี ๑ เพลง
๖.ตั้งเครื่อง เมื่อไปถึงสถานที่แสดง มีผู้รับขันหมากแล้ว คณะหนังขึ้นโรง ประโคมดนตรี ๑ เพลง นอกจากตรวจดูความพร้อมแล้ว เสียงกลองและโหม่งดังไปไกล เนการโฆษณาให้ผู้คนมาชมหนังด้วย จากนั้นลูกคู่เตรียมขึ้งจอ
๗.แก้แผง หรือ แตกแผง เป็นหน้าที่ของคนถือแผงวางเป็นระเบียบ ฤาษี พระอิศวรปักหัวหยวก รูปตลกสำคัญปักปลายหยวก ไม่ให้เกิดเงาขึ้นบนจอ รูปพระอินทร์เหน็บหลังคา รูปพระรูปนาง ปักกับหยวกทางด้านขวา รูปยักษ์ รูปสัตว์ ปักกับหยวกทางด้านซ้าย ในปัจจุบันใช้เชือกขึงระหว่างฝา ๒ ด้าน ห่างจากจอประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้ส่วนบนสุดของมือรูปแขวนกับเชือกเป็นแถว สะดวกในการหยิบใช้
๘.เบิกโรง คือการประกอบพิธีกรรมบูชาครู มีอาหารหวาน คาว เหล้า บรรจุถ้วยเล็กๆใส่รวมกันในถาด เรียกว่า ที่ ๑๒ นอกนั้นมีผ้าขาว ๑ ผืน หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม นายหนังหรือหมอประจำโรง ทำหน้าที่เบิกโรง ตั้งนโม ๓ จบ ตั้งสัดเคชุมนุมเทวดาไหว้สวัสดี รำลึกถึงครูบาอาจารย์ ปักเทียนที่ ทับ กลอง โหม่ง ปาหมากเข้าในทับ นายหนังเคาะทับเบาๆ เป็นจบพิธีเบิกโรง
๙.ลงโรง คือโหมโรงก่อนการแสดง หลักจากเบิกโรงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เริ่มด้วยตีกลอง ตามด้วยโหม่ง ฉิ่ง ปี่ ทับ ปี่จะเป่าเพลงพัดชา ตามด้วยเพลงไทยเดิม ทับนำจังหวะ เครื่องดนตรีหนังสามารถยักย้ายให้เร็วหรือช้าได้ ในอดีตลงโรง ๑๒ เพลง เชิด ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ออกรูปฤาษี
๑๐.ออกรูปหรือชักรูป คือการเชิดรูปทับกับจอ ตามอิริยาบทของรูปหรือตัวละครแต่ละตัว เชิดรูปเดิน เหาะ รบ แปลงกาย ร่ายมนต์ โศกเศร้า คร่ำครวญ
๑๑.ไม้ตับ คือ ไม้หนีบรูปหนังให้ทรงตัวอยู่ได้ โคนไม้ตับใหญ่กว่าส่วนปลาย มีความยาวห่างจากตีนรูปประมาณ ๗ นิ้ว ปลายแหลมสำหรับปักรูปบนหยวกกล้วย ไม้ตับทำด้วยไม้ไผ่
๑๒.ไม้มือรูป ทำด้วยไม้ไผ่ เกลากลมขนาดโตกว่าหัวไม้ขีดไฟ ยาวประมาณ ๑๒ ๑๔ นิ้ว ปลายข้างหนึ่งขอดให้กิ่ว เพื่อผูกเชือกหนักร้อยกับมือรูป บังคับให้มือเคลื่อนไหวได้
๑๓.รูปกาก คือรูปตลกต่างๆ พูดจาหรือแสดงท่าทางขบขันเอาเนื้อหาสาระไม่ได้ คนที่พูดจาเหลวไหลสำนวนชาวบ้าน เรียกว่า ออกกาก
๑๔.ชักปาก คือดึงปากส่วนล่าง ให้อ้าขึ้นลงได้ มีคันเบ็ดทำด้วยไม้ไผ่ หรือเขาควายผูกติดกับไม้ตับตรงส่วนหัวของรูป ปลายสุดคันเบ็ด ผูกเชือกมาร้อยกับริมฝีปาดล่างของรูป ดึงเชือกลงปากจะอ้าออก ปล่อยเชือกริมฝีปากล่าง จะอยู่ติดสนิทกับริมฝีปากบนพอดั รูปบางตัว มีริมฝีปากยาว เช่น นายดิก ชักให้เคลื่อนไหวได้ทั้งริมฝีปากบนและล่าง
๑๕.รูปนุด คือรูปมนุษย์ผู้ชาย ที่คู่กับ รูปนาง ที่เป็นมนุษย์ผู้หญิง ที่นำมาเชิดเป็นตัวพระเอก พระรอง นางเอก นางรอง
๑๖.กินรูป คือนายหนังพากย์และเชิดรูปนั้น เข้ากับนิสัยของตัวละครได้ดี ทั้งสำเนียง และท่าทาง ทำให้การเชิดมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริงๆ
๑๗.เบิกปากรูป คือก่อนออกรูปบนจอ เอาปากรูปมาทาบกับปากนายหนัง ว่าคาถา ออ อา ออ แอเป็นเสียงร้องของเด็กทารก ทำให้คนดูเกิดความสงสาร ส่วนรูปตลกให้คาถาเกี่ยวกับอวัยวะเพศชาย หญิง เพื่อให้เกิดความขบขัน
๑๘.ลงจอ ใช้แป้งที่ปลุกเสกแล้ว เขียนด้วยนิ้วที่จอ คาถา หรือ อักขระที่นิยมกัน คือ ฤ ฤๅ มะ อะ อุ ฦ ฦๅทำให้ชื่อเสียงของหนังเป็นที่เลื่องลือโด่งดัง
๑๙.ผูกดวงใจ ใช้มีดครูแทงหยวกเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลึกประมาณนิ้วครึ่ง ฝังหมาก 1 คำ ปิดหยวกตามรูปเดิม ปลายนิ้วมือกดลงตรงรอยหยวก บริกรรมคาถาผูกดวงใจคนดู ๓ จบ อิตถีโย ปุรุสโส ตะรุโณ โรตันตัง จาระตัง เร เรรัง เอหิ อะคัตฉายะ อะคัตฉาหิ
๒๐.กันตัว คือการบริกรรมคาถาในขณะลูกคู่ลงโรง นั่งยกเข่าทั้ง ๒ ขึ้น ปลายคางวางบนเข่า มือขวาวางบนกระหม่อม มือซ้ายจับที่ประตูลมของเท้า คาถาว่าไม่เหมือนกัน ที่นิยมกันทั่วไปว่า นะกันซ้าย โมกันขวา พุทกันหน้า ทากันหลัง ยะกันกระหม่อม นะปกนะป้อง นะล้อมนะกัน นะกันตัวกู โอม นะ โม พุท ธา ยะบางคนเสกด้วยอักขระ ๑๖ ลูบขึ้น เรียกว่าพาขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจ มีความคึกคะนอง อยากแสดง
๒๑.ผูกขี้ผูกเยี่ยว คือป้องกันมิให้ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะในขณะที่แสดง คาถาว่าโอมปิดทวารังทั้งเก้าน้ำไม่ให้เข้าลมไม่ให้ออก
๒๒.ตัดเหมรย คือการแก้บน เหมรยเป็นข้อตกลงที่ห้ไว้กับสิ่งที่เร้นลับ เมื่อบรรลุเป้าประสงค์ ก็นำหนังตะลุงมาแสดงตัดเหมรย ห่อเหมรยที่บรรจุหมากพลู มอบให้แก่นายหนัง การตัดเหมรยต้องแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันยกเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดงพอเป็นพิธี เช่น ตอนพระรามแผลงศรไปสังหารทศกัณฑ์ ดนตรีทำเพลงเชิด มีพระอินทร์มาเป็นสักขีพยานด้วย ฤาษีจับห่อเหมรยขึ้น นายหนังถือเขียน ตัดห่อเหมรยด้วยมีดครู บริกรรม รมคาถาตัดเหมรยว่า พุทธัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะธัมมัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะ สังฆัง ปัจจักขามิ เดหิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะเจ้าภาพจุดเทียนหน้าโรงหนัง ประกาศแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนมีข้อตกลงไว้โดยสมบูรณ์ถูกต้องแล้ว
๒๓.หลบรูป คือนำเอารูปออกจากจอ เมื่อจบตอนนั้น หรือหลบรูปเพื่อเปลี่ยนท่าเชิดใหม่
๒๔.เสียงเข้าโหม่ง เสียงกลมกลืนกับเสียงโหม่ง เวลาเลยบท หรือเวลาเอื้อนเสียงหนังเสียงเข้าโหม่งเป็นที่นิยมของมหาชนตลอดมา
๒๕.ขึ้นเครื่อง ลูกคู่บรรเลงดนตรีรับเมื่อนายหนังขึ้นบท
๒๖.ลงเครื่อง คือหยุดเครื่องประโคมดนตรี เมื่อนายหนังขึ้นบท
๒๗.ขับบท คือ การร้องบทกลอนเป็นทำนอง เช่น ทำนองสงขลา ทำนองสงขลากลาย ทำนองพัทลุง ตรัง ทำนองคอน (นครศรีธรรมราช)
๒๘.เจรจา คือ การใช้ภาษาพูดระหว่างตัวละคร เจ้าเมือง นางเมือง ตัวพระตัวนาง เจรจาด้วยภาษากลาง รูปกากใช้ภาษาถิ่น
๒๙.ขึ้นบท เมื่อขับบทวรรคแรก เอื้อนเสียงซ้ำ 3 พยางค์ท้ายวรรคดังตัวอย่าง
ขอย้อนกล่าวเทพารักษ์ผู้ศักดิ์สิทธ์ (เอื้อนเสียง) ผู้ศักสิทธิ์ ลูกคู่ขึ้นเครื่องรับแล้วลงเครื่อง นายหนังขับบทต่อจากวรรคแรก ใช้เฉพาะโหม่งกับฉิ่งประกอบจังหวะ
๓๐.ถอนบท คือ การเอื้อนเสียง เมื่อขับไปได้ ๔-๕ คำกลอน เพื่อช่วยให้การขับบทไม่จืดชืด ดังตัวอย่าง
เจ้าฟ้าชายพลากรตอนประพาส เยี่ยมเยือนราษฎร์ในชนบทกำหนดหมาย
ปลอมพระองค์ทรงจำแลงตกแต่งกาย ดูละม้ายคล้ายบุคคลธรรมดา
แดนกับดารที่ไหนไปที่นั่น ไม่ประหวั่นพรั่นพรึงจึงอาสา
น้ำพระทัยไหลหลั่งพระเมตตา แก้ปัญหาช่วยเหลือจุนเจือจาน
ได้ประสบพบความจริงยิ่งฉงน (เอื้อนเสียงร้องซ้ำ ๓ พยางค์หลัง) ยิ่งฉงนลูกคู่ขึ้นเครื่อง เมื่อบรรเลงเพลงจบหรือลงเครื่อง นายหนังขับบทต่อไป คงใช้แต่โหม่งกับฮิ่งประกอบจังหวะ
๓๑.เลยบท คือ การเอื้อนเสียง หรือกระแทกเสียงบทกลอนวรรคสุดท้าย เมื่อขับบทจบตอนนั้นๆ เลยบทจำแนกได้ ๔ ลักษณะ
-
  เลยบทเพื่อออกเดินทาง ดังตัวอย่าง
หนูนุ้ย เท่ง วรินยา โศกจาบัลย์ เที่ยงตะวันต่างกราบลาสองตายาย” (เอื้อนเสียงร้องซ้ำ) เที่ยงตะวันต่างกราบลาสองตายาย ดนตรีทำเพลงเดิน แล้วหลบรูปเข้าฉาก
-
  เลยบทเพื่อดำเนินเรื่องตอนต่อไป ลีลาขับบทเหมือนเลยบทตอนเดินทางดังตัวอย่าง
ยิ่งคิดยิ่งอนาจขาดมาดร ขอตัดตอนจำแนกแตกนิยาย” (เอื้อนเสียงร้องซ้ำวรรคหลัง)
ขอตัดตอนจำแนกแตกนิยาย ดนตรีขึ้นเครื่อง หลบรูปเข้าฉาก ดนตรีเปลี่ยนเป็นบรรเลงเพลงใหม่
-
  เลยบทเศร้า เช่น สลบ ร้องไห้ ลีลาขับร้องบทวรรคสุดท้าย อ้อยอิ่งคร่ำครวญ ดังตัวอย่างแต่พอได้เห็นหน้าสองตายาย กอดลูกชายแน่นิ่งทอดทิ้งตัวเอื้อนเสียงตั้งแต่คำว่าแน่นิ่งลากเสียงให้ยาว ทอดทิ้งตัวดนตรีขึ้นเพลงโอด
-
  เลยบทเชิด เช่นบทเหาะ บทรบ บทแปลงกาย สาป บทแผลงศร ชุบคนตายให้เป็น ร่ายเวทมนต์ ต้องกระแทกเสียง ๓ พยางค์วรรคสุดท้ายของบทร้อง เพื่อให้ดูขึงขัง จริงจัง ดังตัวอย่าง
ท่องนะมะอะอุจบครบสามครา สาปศุลีเป็นนางบ้าวิ่งฝ่าดงกระแทกเสียงวิ่งฝ่าดงดนตรีทำเพลงเชิด
๓๒.ตลกรูปใหญ่ คือรูปเจ้าเมือง นางเมือง ฤาษี เทวดา สามารถพูดให้คนดูเกิดความขบขันได้เหมือนรูปกาก
๓๓.ลำลาบ คือ หนังแสดงเชื่องช้า นำเรื่องไม่เป้นสาระมาพูด ขับกลอนยาวเกินไป เล่นดนตรีนานเกินไป
๓๔.เสียงเข้าโหม่ง คือ เสียงจากนายหนังขับบทกลมกลืนกับเสียงโหม่ง ฟังแล้วแยกไม่ออก ว่าเป็นเสียงของนายหนังหรือเสียงโหม่ง เวลาเอื้อนเสียงหรือเลยบท ฟังไพเราะ รื่นหู เป็นที่นิยมของคนดูทั่วไป
๓๕.โลนหนัง คือ การทำลายสมาธิของนายหนัง เกิดความไม่พอใจ หรือต้องการลองใจ เกิดจากความคึกคะนองของวัยรุ่น ด้วยการส่งเสียงเฮฮา การต่อบทกลอน ข้าวงด้วยไข่ไก่เน่า นายหนังต้องหยุดแสดง ที่อดโทสะไม่ได้ลงมาสู้รบกับคนดูหน้าโรง ก็เคยมีบ่อยๆ
๓๖.ดับแผง คือ การจัดรูปเข้าแผง หลักจากเลิกการแสดงแล้ว เป็นหน้าที่ของนายแผง หรือคนถือแผง จากดับแผงรูปหนังกลายเป้นสำนวนชาวบ้าน มีความหมายว่าอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว อาจเกิดอันตราย ให้รีบเก็บข้าวของออกเดินทาง